วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสร้างฐานข้อมูลด้วย Access

นักเรียนสามารถทำได้

    1. สามารถสร้างฐานข้อมูลได้
    2. สามารถกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของเขตข้อมูลได้
    3. สามารถกำหนดคียืหลักให้กับเขตข้อมูลได้
    4. สามารถป้อนข้อมูลลงในตารางได้
    5. สามารถสร้างความสัมพันธืระหว่างตารางได้

คลิกทำแบบทดสอบก่อนเรียน

ชนิดข้อมูล (Data Type)


การตั้งชื่อออบเจ็กต์  เช่น ตาราง, คิวรี, ฟอร์ม ควรกำหนดดังนี้

Table (ตาราง)     ขึ้นต้นด้วย   tbl   เช่น   tblName
Query (คิวรี)     ขึ้นต้นด้วย    qry   เช่น   qryName
Form (ฟอร์ม)     ขึ้นต้นด้วย   frm   เช่น   frmName
การตั้งชื่อออบเจ็กต์ทุกประเภท ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีช่องว่าง ถ้าาต้องการใช้ช่องว่างจริงๆ ก็สามารถที่จะใช้ "_" (Underscore) หรือขีดล่างนั่นเอง เช่น เราต้องการตั้งชื่อตารางเป็น tbl my Friend ก็ควรตั้งเป็น tbl_my_Friend หรือ tblMyFriend ก็ได้

ชนิดของคีย์ในฐานข้อมูล

คีย์ (key) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตาราง เราควรกำหนด คีย์ ให้กับตาราง เพื่อจำแนกเรคอร์ดและใช้ในการกำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างตาราง คีย์มีดังนี้

คีย์หลัก (Primary Key) ต้องเป็นฟิลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกัน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในเรคอร์ดเดียวกัน เช่น เวลาเราจำข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับคน เราก็จะจำชื่อ หรือจำหน้าตาเป็นหลัก แต่สำหรับคอมพิวเตอร์แล้วการจำรหัสประจำตัวจะง่ายกว่า ซึ่งรหัสประจำตัวนี่เองที่เป็น primary key ของข้อมูลบุคคล
กฏเหล็กของ primary key 
  • ถ้าฟิลด์ไหนทำหน้าที่เป็น primary key ฟิลด์นั้นจะต้องไม่มีข้อมูลที่ซ้ำกันเด็ดขาด 
คีย์ร่วม (Compound key)  ตารางข้อมูลบางตารางไม่สามารถกำหนดให้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น primary key ได้ ต้องใช้หลายฟิลด์ร่วมกัน
ตัวอย่าง
(คลิกขยายภาพ)

       จากตารางจะเห็นว่าไม่สามารถใช้ฟิลด์ใดเป็น primary key ได้เลย เพราะรหัสนักเรียนซ้ำกันได้เนื่องจาก นักเรียน1 สามารถที่จะชอบผักได้หลายอย่าง ส่วนรหัสผักก็มีซ้ำกันได้อีก เพราะผัก 1 อย่างก็ถูกนักเรียนชอบได้หลายคน 
        ดังนั้นเราจึงต้องจับรหัสนักเรียน และรหัสผักรวมกันเป็น primary key แบบร่วม เพราะ 2 ฟิลด์นี้จะไม่มีทางเหมือนกันทั้ง 2 ฟิลด์ ในต่างเรคอร์ดแน่นอน

คีย์คู่แข่ง (Candidate key) ตารางบางตารางจะมีฟิลด์ให้เลือกใช้เป็น primary key ได้มากกว่า 1 ฟิลด์ ถ้าจะเลือกทั้งสองฟิลด์เป็น primary key ก็จะเกินความจำเป็น อาจจะสร้างความสับสนเพิ่มให้กับเราอีกก็ได้ คีย์ประเภทนี้ฟิลด์สามารถที่จะเป็น คีย์หลักได้

คีย์นอก (Foreign key) 

  • คีย์ชนิดนี้เป็นฟิลด์ที่มีอยู่ใน 2 ตาราง
  • ในตารางหนึ่งจะทำหน้าที่เป็น primary key
  • ส่วนอีกตารางอาจจะเป็น compound key หรือไม่ได้เป็นคีย์ใดๆเลย (Non key) ก็ได้ เป็นฟิลด์ที่สามารถมีข้อมูลซ้ำกันได้
หน้าที่ของ foreign key คือ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตารางเข้าหากัน ทำให้เกิดเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รู้จักฐานข้อมูล


ฐานข้อมูล (Database)
        ฐานข้อมูล คือ ระบบในการจัดการข้อมูลอย่างมีระเบียบโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อจุดประสงค์ที่ชัดเจน หรือเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ

  • เช่น ฐานข้อมูลการขาย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลนักเรียน 
  • ในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลต้องมีโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่เรียกว่า "ระบบการจัดการฐานข้อมูล" (Database Management System) ช่วยในการทำงาน

ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relation Database)
เป็นฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง ในลักษณะตาราง 2 มิติ ประกอบด้วย "แถว" และ "คอลัมน์" แต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กัน


คำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1. ตาราง (Table) ใช้เก็บข้อมูล มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ รีเลชั่น (Relation) ตารางประกอบด้วย แถว และ คอลัมน์
2. คอลัมน, เขตข้อมูลหรือฟิลด์ (Field) คือ กลุ่มของตัวอักษรที่ประกอบกันขึ้นมีความหมาย เก็บรวบรวมของมูลแบบเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น ฟิลด์ "ชื่อ" ใช้เก็บข้อมูลรายชื่อเท่านั้น ฟิลด์ "รหัสนักเรียน" ใช้เก็บรหัสนักเรียนเท่านั้น
3. แถว, ระเบียน (Record) หน่วยของข้อมูลที่ประด้วยฟิลด์ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไปมารวมกันและมีความสัมพันธ์กัน เช่น ระเบียนของนักเรียน 1 ระเบียนจะเป็นข้อมูลของคน 1 คน ประกอบด้วยเขตข้อมูล ได้แก่ รหัสนักเรียน ชื่อนักเรียน ที่อยู่ เป็นต้น
(คลิกขยายภาพ)
4. เอนทิตี้ (Entity) คือ ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการจัดเก็บในฐานข้อมูล ได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่  เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น เอนทิตี้นักเรียน เอนทิตี้ครู เอนทิตี้หนังสือ
5. แอททริบิวต์ (Attribute) คือ ข้อมูลที่แสดงถึงคุณสมบัติของเอ็นทิตี้ เช่น เอนทิตี้นักเรียน ประกอบด้วย แอททริบิวต์ร หัสนักเรียน ชื่อนักเรียน ที่อยู่ เป็นต้น
(คลิกขยายภาพ)
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ ความสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง 1:1 (one to one relationship) 
§  1 เรคอร์ดของหนึ่งตาราง จะสัมพันธ์กับ เรคอร์ดเพียง 1 เรคอร์ดของอีกหนึ่งตารางเท่านั้น
 เช่น ความสัมพันธ์ของเอ็นทิตี้นักเรียนและเอ็นทิตี้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์
  • นักเรียน 1 คน มีคะแนนสอบได้เพียงคะแนนเดียวในหนึ่งวิชา
  • ไม่มีทางที่นักเรียนคนเดียวกันจะสอบได้ 70  และ 80 คะแนนในหนึ่งวิชา
  • (คลิกขยายภาพ)
2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม 1:N (one to many relationship) 
  • เป็นความสัมพันธ์ที่เรคคอร์ดในตารางหนึ่ง สามารถมีความสัมพัน์กับเรคคอร์ดในอีกตารางหนึ่งได้หลายเรคคอร์ด 
  • เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างตารางครูที่ปรึกษา และตารางนักเรียน 
  • ครูที่ปรึกษาสามารถมีนักเรียนในความรับผิดชอบได้หลายคน แต่นักเรียนแต่ละคนจะมีครูที่ปรึกษาได้แค่ 1 คน
(คลิกขยายภาพ)
3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม M:N (many to many relationship)
  • ข้อมูล 1 เรคอร์ดต่างก็สัมพันธ์กับข้อมูลหลายๆ เรคอร์ดของอีกตาราง เช่น

ข้อมูลนักเรียน และข้อมูลรายวิชา
นักเรียนหนึ่งคนสามสามารถลงเรียนได้หลายวิชา
รายวิชา 1 รายวิชามีนักเรียน เรียนได้หลายคน

ข้อมูลรายการสินค้า และ ข้อมูลลูกค้า
สินค้าแต่ละรายการสามารถถูกซื้อได้โดยลูกค้าหลายราย
ลูกค้าแต่ละรายสามารถสั่งซื้อสินค้าได้หลายรายการเหมือนกัน 
(คลิกขยายภาพ)






 

การจัดการฐานข้อมูล ACCESS 2010 Template by Ipietoon Cute Blog Design

Blogger Templates